ที่มา:https://www.youtube.com/watch?v=XiqjdXyEx_I
สามารถศึกษาได้จากด้านล่างนี้
โดยกดสัญลักษณ์ที่อยู่ด้านข้างเพื่อเลื่อนดูรายละเอียดในแต่ละรูปแบบ
สัญญาณแอนะล็อกมักเป็นสัญญาณที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี เป็นต้น เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้ผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณ จะได้ข้อมูลที่ต้องการ เช่น การส่งผ่านระบบโทรศัพท์ หน่วยวัดของสัญญาณแบบนี้คือ เฮิรตซ์(Hertz) ซึ่งสัญญาณแอนะล็อกมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่รวดเร็ว
สัญญาณดิจิทัลมักเป็นสัญญาณที่ไม่มีในธรรมชาติ และถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง โดยรูปแบของสัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่อกัน อัตราการส่งข้อมูลมีหน่วยเป็น BPS(Bit Per Second) ในระบบดิจิทัลจะใช้สัญญาณเป็นระบบเลขฐานสอง(Binary) ซึ่งจะแทนค่าแรงดันไฟฟ้าสองระดับเท่านั้น เลขฐานสองแต่ละหลักที่ใช้ในระบบดิจิทัล เรียกว่า หลัก ดิจิต(Digit) ซึ่งสัญญาณดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงระดับอย่างรวดเร็ว แต่เดินทางได้ไม่ไกลมากนัก เนื่องจากมีการลดทอนสูง
ในบางครั้งการสื่อสารข้อมูลต้องมีการแปลงสัญญาณแอนะล็อกและสัญญาณดิจิทัลกลับไปมาเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสม และนำไปใช้งานได้ ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สองเครื่อง เข้าด้วยกันโดยผ่านระบบโทรศัพท์ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรองรับเสียงพูด ที่มีลักษณะของสัญญาณเป็นแบบแอนะล็อก ไม่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิทัลระหว่างคอมพิวเตอร์ จึงต้องมีอุปกรณ์ช่วยในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งออกไปเป็นสัญญาณแอนะล็อก จากนั้นจะแปลงกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลเมื่อสัญญาณถูกส่งถึงผู้รับ โดยผ่านอุปกรณ์ในการแปลง สัญญาณที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งใช้เทคนิคการบีบอัดข้อมูลร่วมกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งสัญญาณด้วย